ฝี

งดอาหารแสลง ฝี ห้ามกินอะไร แล้วควรดูแลตัวเองยังไง ให้ฝีหายเร็วขึ้น

ฝี เกิดจากอะไร

ฝี มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่เรียกว่า เชื้อแบคทีเรีย สตาฟิโลคอคคัส ออเรียส และเชื้ออื่นๆ ทำให้ต่อมไขมันหรือหรือรูขุมขนบนผิวหนังอักเสบ บวมแดงขึ้นเมื่อสัมผัสโดนจะรู้สึกเจ็บปวดและแสบร้อน อาจมีไข้สูงร่วมด้วย โดยจะลักษณะเป็นก้อน มีลักษณะกลม ขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันไปตามอาการอักเสบในบริเวณนั้นๆ ภายในเป็นหนอง

กลุ่มความเสี่ยงที่อาจตรวจพบ ฝี ได้มากกว่ากลุ่มบุคคลอื่นๆ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่รับประทานยาสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่อง, ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้ตรวจพบ ได้มากกว่ากลุ่มบุคคลอื่นๆ

ฝี พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย เกิดขึ้นได้ทุกส่วนในร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน แต่ส่วนมากเราจะพบ บนผิวหนังภายนอกได้มากกว่า ซึ่งฝีมักจะมีขนาดเล็กและสามารถรักษาได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการกินยา , การผ่า หรือ กรีดระบายหนอง

อาจจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นจนเห็นชินตาเหมือนกับ “สิว”

แต่ก็พบเห็นผู้ป่วยได้จำนวนไม่น้อย และสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก บางคนถึงขั้นจับไข้ไปหลายวัน เรียกว่าจะปล่อยให้หายเองแบบสิวคงไม่ได้ เรื่องนี้ พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผอ.สถาบันโรคผิวหนัง ระบุว่า  ฝี เป็นโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย อาทิ “เชื้อสแตฟิโลค็อคคัส ออเรียส” และเชื้ออื่น ๆ แค่ผิวถลอก หนามเกี่ยว แผลเล็ก ๆ เชื้อดังกล่าวก็สามารถเข้าไปได้ อย่างอาชีพเกษตรกร สามารถเจอได้เยอะ เพราะมีโอกาสเกิดบาดแผลตามร่าง กายได้ง่าย

ทั้งนี้  ฝี  สามารถเกิดขึ้นได้ทุกตำแหน่งของร่างกาย อาจมีลักษณะเป็น “ไตแข็ง” ก็ได้ หรือ “อักเสบบวม แดง” ก็ได้ “สร้างความเจ็บปวดบริเวณโดยรอบ” หากไม่ได้รับการรักษา โรคอาจจะมีการ “กลัดหนอง”จัดอยู่ในช่วงระยะกลาง ๆ ของโรค กล่าวคือเมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคเข้ามาแล้วร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดขาวมาต่อสู้กับเชื้อโรค จำลองเหตุการณ์ง่าย ๆ ก็เหมือนกับสมรภูมิรบ โดยมีเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่เป็นทหารรักษาดินแดน ทหารเม็ดเลือดขาวที่ต่อสู้บาดเจ็บล้มตาย ทับถมกันมากเข้ากลายเป็น “หนอง”

หากปล่อยเอาไว้ก็จะแตกออกมาในที่สุด

ฝี

พญ.มิ่งขวัญ บอกว่า วิธีการรักษาไม่ยาก หากมีแผลเปิดก็ต้องทำแผล ล้างแผล ใส่ยาฆ่าเชื้อที่ตรงกับเชื้อที่คาดว่าเป็นสาเหตุ ซึ่งโดยทั่วไปยาค่อนข้างเอาอยู่ รับประทานยาฆ่าเชื้อ 7-14 วัน ก็ทำให้ ฝี ยุบได้หากมีหนองก็ต้องระบายหนองออก หรืออาจจะต้องมีการผ่าตัดออก ทั้งนี้ หากมีไข้ หรือมีภาวะต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย เช่น หากเกิดฝีที่ขาแล้วมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวม จะต้องมีการให้ยาฉีดให้ทางเส้นเลือด

อาการของคัณฑสูตรที่เห็นได้คือ มีเลือดซึมและมีอาการปวดบริเวณทวารหนัก

  • ซึ่งคล้ายกับอาการของโรคริดสีดวงทวารหนัก จึงควรเข้ารับการตรวจเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยแยกโรคและรักษาอย่างถูกวิธี
    ฝี คัณฑสูตรไม่สามารถหายเองได้ และมักเป็นเรื้อรัง หากต้องการหายขาดหรือมีโอกาสเป็นซ้ำน้อยและหลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระไม่ได้ ควรเข้ารับการผ่าตัดกับแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการเท่านั้น
    การผ่าตัดรักษาคัณฑสูตรสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดและอาการ มีอัตราความสำเร็จ โอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำและข้อดี ข้อด้อยที่แตกต่างกัน โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วย อาหารสุขภาพ
    โรคคัณฑสูตร อาจเป็นชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบได้บ่อยไม่แพ้กับโรคทางระบบลำไส้และทวารหนัก ด้วยความที่คัณฑสูตรนี้เกิดในบริเวณก้นใกล้ๆ ทวารหนัก เมื่อผู้ป่วยมีอาการแสดงหรือเป็นโรคนี้อาจรู้สึกอายจึงไม่กล้าเข้าพบแพทย์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเรื้อรังของโรค ทำให้แพทย์ให้การรักษาได้ยากและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *