เบาหวาน รับประทานอะไรได้บ้าง
เบาหวาน รับประทานอะไรได้บ้าง
ผู้ป่วย เบาหวาน หรือคนที่ไปตรวจสุขภาพมาแล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรรับประทานอาหารแบบไหนดี เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งไปถึงจุดที่อันตราย ทั้งอาหารจานเดียว ของคาว ของหวาน ผลไม้ หรือจะเป็นอาหารเสริมและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ วันนี้ลองมาดูตัวอย่างเมนูอาหารที่คนเป็นเบาหวานสามารถรับประทานได้กัน
มื้อเช้าเป็นมื้อสำคัญที่เราควรได้รับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอย่างเหมาะสม โปรตีนอย่างพอเพียง และไฟเบอร์ไม่ควรขาด ดังเช่นอาหารต่อไปนี้
– ข้าวต้มปลา / ข้าวต้มหมู / ข้าวต้มไก่ / ข้าวต้มกุ้ง / ข้าวต้มกระดูกอ่อน
– โจ๊กไก่ใส่ไข่ / โจ๊กหมูใส่ไข่ / โจ๊กปลาใส่ไข่
* ถ้าเปลี่ยนจากข้าวขาว เป็นข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ หรือข้าว กข.43 ซึ่งมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลได้ช้ากว่า จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ลดน้ำตาลจากคาร์โบไฮเดรตในแต่ละมื้อไปได้เยอะเลยทีเดียว
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรเป็นอย่างไร?
อาหารสำหรับผู้ป่วย เบาหวาน ไม่ได้เป็นอาหารพิเศษแตกต่างจากอาหารที่คนทั่วไป เพียงแต่ต้องระมัดระวังในการเลือกชนิดอาหาร และควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้รับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ในแต่ละวันควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อย่อย 5 มื้อต่อวัน และนี่คือตัวอย่างอาหารสำหรับผู้ป่วยบาหวานใน 1 วัน…ที่คุณหมออยากแนะนำ!
เมนูต้ม ๆ ที่คนเป็นเบาหวานรับประทานได้หายห่วง ควรเลือกเมนูต้มที่มีส่วนประกอบของผัก และเนื้อสัตว์หรือเต้าหู้ เพื่อเพิ่มโปรตีน และควรเป็นต้มที่ไม่เน้นรสหวาน เช่น
– ต้มจืดเต้าหู้หมูสับ / ต้มจืดสาหร่ายผักกาดขาวหมูสับ / ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมูอ่อน / ต้มจืดตำลึงหมูสับ / ต้มจืดตำลึงหมูสับ / ต้มจืดวุ้นเส้นหมูสับ / ต้มจืดแตงกวายัดไส้หมูสับ
– ต้มมะระกระดูกหมู / ต้มจับฉ่าย / ต้มซุปมันฝรั่งปีกไก่
– ต้มยำไก่น้ำใส / ต้มยำกุ้งน้ำใส / ต้มยำทะเลน้ำใส
– ต้มข่าไก่ใส่ฟัก
– แกงส้มผักรวมกุ้ง / แกงส้มผักรวมปลาทูสด / แกงส้มแป๊ะซะปลาช่อน
– ต้มแซ่บกระดูกหมู
– แกงเห็ด
– ต้มส้มปลาทู / ต้มยำปลาทู
– แกงใบย่านางสารพัดเห็ด
– แกงเลียงกุ้งสด
– แกงป่าไก่ / แกงป่าหมู / แกงป่าปลา
– แกงตำลึงใส่กระดูกหมู
เบาหวาน เป็นโรคที่มีความผิดปกติในระบบเผาผลาญอาหารร่วมกับความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน อาหารจึงเป็นหัวใจสำคัญในการควบคุมโรค ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกชนิดอาหาร ปริมาณอาหารและการบริโภคอาหารให้ตรงเวลา ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อุดมด้วยสารอาหาร เน้นผักผลไม้ และธัญพืชต่างๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นหลักการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่คนส่วนใหญ่ควรเลือกรับประทานกันอยู่แล้ว
เพียงแต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานจะมีการจำกัดปริมาณที่เหมาะสม และอาจต้องรับประทานอย่างเป็นเวลาในทุกวัน นอกจากนี้ เบาหวาน อาหารของคนเป็นเบาหวานก็ใช่ว่าจะต้องมีรสจืดชืด หรือต้องบอกลาอาหารสุดโปรดที่แพทย์สั่งงดไปตลอด ผู้ป่วยยังคงสามารถรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันได้อยู่ เพียงแต่ต้องลดสัดส่วนให้น้อยลงหรือรับประทานนานๆ ครั้ง ดังนั้น หากยังอยากกินของชอบหรือต้องการวางแผนรับประทานอาหารเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ทรมานใจเกินไป ก็สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์และนักโภชนาการได้ทุกเมื่อ
เช็กก่อน…คุณเป็นโรค เบาหวาน หรือเปล่า?
การเลือกอาหารให้เหมาะกับร่างกาย เราต้องรู้ก่อนว่าเรามีโรคใดๆ แฝงอยู่หรือเปล่า นอกจากการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่แล้ว เราต้องหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการบ่งชี้โรคเบาหวานหรือไม่ร่วมด้วย ซึ่งอาการต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมีดังนี้
- หิวบ่อย กินจุ
- น้ำหนักลดลงแบบไม่ทราบสาเหตุ
- คอแห้ง กระหายน้ำบ่อย
- ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืนต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำหลายครั้ง
- คันตามผิวหนัง