โรคหัวใจ

อาหารที่ผู้ป่วย โรคหัวใจ ควรรับประทาน

อาหารที่ผู้ป่วย โรคหัวใจ ควรรับประทาน

หลักในการรับประทานอหารเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี

  • อาหารที่รับประทานได้
    เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและหนัง
    ปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาซา์ดีน โรคหัวใจ
    แนะนำให้รับประทานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 คร้ัง เพราะน้ำมันจากปลาทะเลช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดและช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้
    น้ำมันจากพืช ควรใช้ปริมาณที่น้อยๆ เช่่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง เป็นต้น
  • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
    อาหารที่มีคอลเรสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง มันหมู มันไก่ อาหารทะเล ยกเว้นเนื้อปลา น้ำมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ บรรดาของทอด หรือผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย มาการีน ชีส
    อาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัว (รับประทานได้ไม่เกิน 10% หรือน้อยกว่าจากพลังงานที่ควรได้รับตลอดวัน) เช่น ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันสัตว์ (เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ)
  • โรคหัวใจ อาหารที่มีไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน ทำให้คุณสมบัติของไขมันเปลี่ยนแปลงไป มักพบในครีมเทียม เนยเทียม เนยขาว ขนมกรุบกรอบ คุกกี้ เค้ก และอาหารทอดที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ

จำกัดปริมาณโซเดียมด้วยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด

เพราะอาหารที่มีปริมาณโซเดียมมากจะทำให้ความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคหัวใจ สำหรับผู้ป่วย โรคหัวใจ ควรจำกัดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมวันละ 3,000 มิลลิกรัมหรือน้อยกว่า (เกลือ 1 ช้อนชา=โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม) และไม่ควรเติมหรือปรุงรสอาหารขณะรับประทาน หากต้องการเพิ่มรสชาติอาจใช้เครื่องเทศ เช่น ตะไคร้ พริกไทย ใบมะกรูด หรือเพิ่มรสเปรี้ยวจากมะนาว

เพิ่มปริมาณใยอาหาร ด้วยการรับประทานผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าว ขนมปังที่ไม่ผ่านการขัดสี และธัญพืชต่างๆ โดยในแต่ละวันร่างกายต้องการใยอาหารอย่างน้อย 25 กรัม ทั้งนี้ใยอาหารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • ใยอาหารชนิดละลายน้ำ พบในธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต รำข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง ผัก ผลไม้ ใยอาหารชนิดนี้จะช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  • ใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ พบในธัญพืชและขนมปังที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่วเปลือกแข็ง ผักและผลไม้บางชนิด ใยอาหารชนิดนี้จะดูดซึมน้ำไว้ช่วยให้การทำงานของระบบลำไส้และการย่อยอาหารมีประสิทธิภาพ
  • ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารทั้ง 2 ชนิด ด้วยการรับประทานอาหารให้หลากหลายประเภทในปริมาณที่เหมาะสม

โรคหัวใจ เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารการกินค่อนข้างมาก เรียกได้ว่าอาหารถือเป็นส่วนสำคัญเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะต้องกินอาหารที่มีไขมันต่ำและโซเดียมต่ำแล้ว อาหารเหล่านี้ก็สามารถต้านโรคหัวใจได้ บอกเลยว่ากินแล้วดีต่อใจแน่นอน!!

“ปลาทะเล” ลดการอักเสบหลอดเลือดแดง

โรคหัวใจ

ควรกินปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทู ปลาซาร์ดีน อย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ เพราะเป็นปลาที่มีไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นสู่การเป็นโรคหัวใจ และนอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันจากสัตว์ หรือน้ำมันจากการทอดอาหารซ้ำ

“น้ำมันจากถั่วเปลือกแข็ง” ลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง

น้ำมันจากถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืชที่มีกรดแอลฟา-ลิโนเลนิกสูง  โรคหัวใจ เช่น น้ำมันคาโนลา วอลนัต น้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงได้ แต่ก็ไม่ควรกินมากจนเกินไปเพราะน้ำมันเหล่านี้ให้พลังงานสูงอาจทำให้อ้วนได้เหมือนกัน

“อะโวคาโด” เพิ่มโพแทสเซียม

อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพหัวใจ ซึ่งอะโวคาโด 1 ลูก ประกอบไปด้วยโพแทสเซียม 975 มิลลิกรัม หรือประมาณ 28% ของปริมาณโพแทสเซียมที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน หากเราได้รับโพแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอก็จะช่วยลดความดันโลหิตซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *