อาหารคลายเครียด

อาหารคลายเครียด ช่วยคุณลดความเครียด อารมณ์ดี สุขภาพดี

อาหารคลายเครียด เครียดแล้วกินเยอะ เกิดจากอะไร?

แนะนำ อาหารคลายเครียด กินฮีลใจแบบบาลานซ์

ความเครียด เป็นภาวะทางอารมณ์ที่ทุกคนต้องพบเจอเป็นปกติ แม้เป็นภาวะที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ แต่ความเครียดที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านพฤติกรรม หรือร่างกายของเราได้ด้วยเช่นกัน หลายคนอาจมีอาการหัวใจเต้นเร็วและแรง หายใจถี่ เหงื่อออกง่าย ไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้ หรือบางคนเมื่อเครียดแล้วกินข้าวไม่ลง ในขณะที่อีกหลายคนเครียดแล้วอาจกินเยอะขึ้นมากกว่าปกติ จนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพที่ยากเกินจะควบคุม ในบทความนี้ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอาการ “เครียดแล้วกินเยอะ” พร้อมเทคนิคเพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้ พร้อมทั้งแนะนำอาหารคลายเครียดเพื่อสร้างสุขภาพกายและใจที่ดีอย่างยั่งยืน

กินฮีลใจ อาหารคลายเครียด ด้วย 3 เทคนิค ‘กินอยู่อย่างสมดุล’

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การแก้เครียดด้วยการกิน ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่สิ่งสำคัญคือ กินอย่างไรที่ทำให้เรารู้สึกดี และยังคงได้สุขภาพที่แข็งแรงพร้อม ๆ กัน คำตอบก็คือ ‘การกินอยู่อย่างสมดุล’ ซึ่งมีแนวคิดที่มองอาหารในแง่บวก ยืดหยุ่นกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นำไปสู่ ‘วิถีการกินที่ดี’ และ ‘ชีวิตที่มีความสุข’ โดยทุกคนสามารถกินของที่ชอบได้ ควบคู่ไปกับอาหารบำรุงสมองคลายเครียด อาหารคลายเครียด อาหารที่ดีและมีโภชนาการเหมาะสมกับร่างกาย ด้วยเทคนิคง่าย ๆ 3 ข้อ คือ

· บวก – เทคนิคของการจับคู่อาหารโดยที่ไม่ต้องบังคับตัดอาหารออกไปหรือห้ามกินอะไรเสมอไป แต่เป็นการ “บวก” สารอาหารดี ๆ ให้ได้ครบหมู่ตามความต้องการของร่างกาย เช่น หากกำลังเครียดและต้องการกินของอร่อย ๆฮีลใจ ให้ลองจับคู่ของหวานกับผลไม้น้ำตาลน้อยเพื่อประโยชน์ที่เสริมกัน เพราะในของหวานจะมีทั้งน้ำตาลและไขมัน เมื่อจับคู่กับผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง จะช่วยลดการดูดซึมไขมันและน้ำตาลได้ดีขึ้น

· แบ่ง – ควบคุมปริมาณการกินให้เหมาะกับความต้องการของร่างกาย เช่น หากปกติจะแก้เครียดด้วยการดูซีรีส์มาราธอน พร้อมกับป็อปคอร์นชามใหญ่ที่กินเพลิน ๆ รู้ตัวอีกทีก็กินจนหมดแล้ว ลองเปลี่ยนเป็นการชวนเพื่อน ๆ มานั่งดูซีรีส์เพื่อแบ่งปันช่วงเวลาดี ๆ และขนมอร่อย ๆ ไปด้วยกัน หรืออาจจะลองแบ่งขนมใส่ชามที่เล็กกว่าเดิมก็ได้ โดยสามารถดูคำแนะนำการแบ่งกินได้ตามฉลากโภชนาการ หรือเลือกทานผลิตภัณฑ์โดยสังเกตสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่เหมาะสม

· แพลน – วางแผนมื้ออาหาร อาหารคลายเครียด แต่ละวันให้สมดุลกัน เช่น เมื่อจบการประชุมงานที่เคร่งเครียดในช่วงเช้า ต้องการเติมพลังด้วยบุฟเฟ่ต์ในมื้อเที่ยงก็สามารถทำได้ โดยวางแผนให้มื้อเย็นของวันนั้นเป็นมื้อที่เบาลง หรือกินเน้นผักผลไม้แทน นอกจากนั้น อาจใช้วิธีแพลนโดยการจัดจานแบบ 2:1:1 ที่สามารถกะได้ด้วยสายตากำหนดให้แบ่งอาหารเป็นผัก 2 ส่วน ข้าวแป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ 1 ส่วนในบางมื้อที่สะดวก เทคนิคนี้ก็จะช่วยให้เราแพลนการทานได้ปริมาณที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

เครียดแล้วกินเยอะ เกิดจากอะไร?

อาการ

  1. รับประทานอาหารปริมาณมากในเวลาไม่นาน
  2. รับประทานอาหารแม้ว่าจะอิ่มแล้ว หรือไม่หิว
  3. รับประทานอาหารเร็วมากในบางช่วง
  4. รับประทานอาหารคนเดียวหรือเก็บเป็นความลับ
  5. จากการรับประทานอาหารปริมาณมากรู้สึกละอายใจหรือรู้สึกผิดหวัง
  6. พยายามควบคุมอาหารโดยที่น้ำหนักไม่ลด
  7. รู้สึกเครียดจนอาจทำให้รับประทานอาหารมากขึ้น

สภาวะทางด้านอารมณ์
นอกจากพฤติกรรม อาหารคลายเครียด การกินที่ผิดปกติ ยังพบว่าผู้ป่วยโรคกินไม่หยุดมีสภาวะทางอารมณ์ที่ผิดปกติด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะรู้สึกโกรธ เกลียดตัวเองที่กินเยอะ รู้สึกผิดและละอายใจหลังกินอาหาร ชอบโทษตัวเอง มีความรู้สึกไม่ชอบตัวเอง และมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง

สาเหตุของโรคกินไม่หยุด
โรคกินไม่หยุดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่เกิดได้กับคนในทุกช่วงอายุ สาเหตุหลักๆ ที่ส่งผลให้เป็นโรคกินไม่หยุด

ผลกระทบและอาการที่ตามมาหลังเป็นโรคกินไม่หยุด

ผลกระทบหลักๆ ที่เกิดจากโรคกินไม่หยุด คือ ปัญหาทางสุขภาพร่างกาย การกินเยอะจนร่างกายได้รับสารอาหาร และปริมาณอาหารที่มากเกินไป สามารถส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิต กรดไหลย้อน ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง หรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ รวมไปถึงโรคมะเร็งจากการกินแบบไม่เลือก อาหารคลายเครียด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับอ่อน ในผู้หญิงยังอาจส่งผลไปถึงประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งจะมีผลกับการตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน

นอกจากผลกระทบด้านสุขภาพร่างกาย โรคกินไม่หยุดยังส่งผลด้านอารมณ์ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยจะรู้สึกแปลกแยก ชอบเก็บตัว ไม่อยากเข้าสังคม เพราะกังวลเรื่องกินเยอะ หรือกังวลในรูปร่างหน้าตา ไม่มั่นใจในตัวเอง ส่งผลไปถึงเรื่องบุคลิกภาพ ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และอาจลุกลามกลายเป็นอาการซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรคไบโพลาร์ได้

รับประทานแบบไหน ก็ได้สุขภาพแบบนั้น

คำกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องเกินจริง เพราะหากเรารับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์กับร่างกาย เราก็จะมีสุขภาพที่ดี ขณะเดียวกัน ถ้าเรารับประทานอาหารที่ไม่ดีกับร่างกาย เช่น ไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด ก็จะทำลายสุขภาพได้เช่นกัน คนส่วนมากนิยมเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ จะได้ป้องกันตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และมีอายุยืนยาว จึงต้องมองหาเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลาย ไม่จำเจ เพื่อให้ทุกวันยังคงได้รับประทานอาหารที่อร่อย และเอนจอยได้ทุกมื้อ ใครที่กำลังเริ่มศึกษาเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ สามารถทำความรู้จักวัตถุดิบต่าง ๆ แล้วเลือกไปประกอบอาหารได้จากบทความนี้

อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food) เป็นรูปแบบของการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพของร่างกาย จิตใจ รวมไปถึงอารมณ์ ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ การรับประทาอาหารเพื่อสุขภาพ นอกจากจะได้รับสารอาหารหลัก 5 หมู่ที่มีความหลากหลาย ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายแล้ว ยังอาจช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *