เช็กให้ชัวร์! ผู้ป่วย โรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไรบ้าง อัพเดต 2024
เช็กให้ชัวร์! ผู้ป่วย โรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไรบ้าง อัพเดต 2024
อวัยวะแต่ละส่วนในร่างกายล้วนมีหน้าที่และความสำคัญต่างกันไป ‘ต่อมไทรอยด์’ ก็ถือเป็นอวัยวะสำคัญ เพราะมีหน้าที่ผลิต ฮอร์โมนไทรอยด์ ที่ควบคุมระดับการเผาผลาญ ความดันโลหิต อุณหภูมิ และอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งเปรียบเสมือนการรักษาสมดุลให้กับร่างกายอีกทีหนึ่ง หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติก็จะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะหัวใจและสมองจนทำให้เกิดความเจ็บป่วย หรือแม้แต่ความผิดปกติของผิว ผม และเล็บ ก็สามารถเกิดขึ้นได้
โรคไทรอยด์ สาเหตุฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ
โรคไทรอยด์ คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ กับ ประเภทไทรอยด์เป็นพิษหรือมีฮอร์โมนไทรอยด์สูงเกินไป โดยทั้ง 2 ชนิดนี้ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษา
กินอย่างไร เมื่อป่วยเป็น โรคไทรอยด์ ?
หลายคนเมื่อมีอาการของไทรอยด์ผิดปกติ ก็มักกังวลเรื่องอาหารการกิน ซึ่งการรับประทานอาหารที่เหมาะสมนับว่ามีส่วนสำคัญในการช่วยให้อาการดีขึ้นได้ วันนี้เราจึงขอแนะนำอาหารที่เหมาะกับผู้ที่มีไทรอยด์ผิดปกติ ไปดูกันว่า เป็นไทรอยด์แบบไหน ควรกินหรืองดอาหารประเภทใดบ้าง!!
เช็กให้ชัวร์! ผู้ป่วย โรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไรบ้าง? หนึ่งในสิ่งที่ผู้ป่วย “โรคต่อมไทรอยด์” มักจะมีความกังวลคือเรื่องการรับประทานอาหาร ว่าจะมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติหรือไม่ และจะส่งผลต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้ทำงานผิดปกติไปด้วย จนอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย วันนี้เรามาเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดให้ปลอดภัยจากภาวะไทรอยด์ผิดปกติ เป็นโรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไร เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้ดีอยู่เสมอและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ชวนทำความรู้จัก โรคต่อมไทรอยด์ คืออะไร ?
โรคไทรอยด์ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของ “ต่อมไทรอยด์” ซึ่งมีลักษณะเหมือนรูปปีกผีเสื้ออยู่บริเวณหน้าลำคอของเรา มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการเผาผลาญและอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนมาก หรือน้อยเกินไป จะส่งผลกระทบต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆ ให้ผิดปกติตามไปด้วย โดยอาการที่พบจะขึ้นอยู่กับชนิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หากคุณกำลังสงสัยถึงอาการไทรอยด์ในระยะเริ่มต้น เพื่อสังเกตตัวเองและคนใกล้ชิด